วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

แปล-สรุปบทความ

แปล-สรุปบทความเรื่องที่1
เขียนโดย :  Nendo
แปลสรุปความโดย : นางสาวพิชชานันท์ สร้อยสิงห์
รหัสนักศึกษา : 5511303017 กลุ่ม 101
Contact E-mail : pichananss16@gmail.com
วิชา ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์


Nendoนักออกแบบชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาชุดช็อคโกแลตเย็นสำหรับอาร์ตติส เอกลักษณ์ของช็อคโกแลตชุดนี้มีความแปลกใหม่โดยการใช้รูปทรงของหลอดสีมาเป็นตัวช็อคโกแลตและช็อคโกแลตแต่ละหลอดในกล่องจะมีความหลากหลายของสีคือครีมรสต่างๆเช่นรสคาราเมล ชาเขียวและกาแฟมาสอดใส้แล้วห่อกระดาษเป็นป้ายระบุสีตามรสชาติต่างๆเพื่อกันนิ้วมือเปื้อนภายในชั้นช็อคโกแลตหนา ตัวกล่องจะเป็นสีมาตราฐานทำให้ได้ความรู้สึกสง่างามกับฉลากที่ออกแบบน้อยที่สุดผสมผสานกับความตื่นเต้นในวัยเด็กของการเปิดกล่องสีใหม่ๆและความตื่นเต้นในการเปิดกล่องช็อคโกแลตที่ได้รับ โดยไม่คาดคิดว่ามันคือช็อคโกแลตแสนอร่อย
Nendo, from Japan, developed a cool set of chocolates for those artsy folks out there; Edible Chocolate Paint Tubes filled with delicious molten crèmes and caramels. The cacao “pigment” is molded into small paint tubes, formed, then wrapped in individual colored labels, each named after the favors that exist beneath the layer of thick chocolate.  The box itself fuses a standard paint container and a touch of elegance, with the label minimally designed. Upon opening the container, you are overwhelmed with a sense of satisfaction knowing that your mouth is in for a delicious treat.








แปล-สรุปบทความเรื่องที่ 2

เขียนโดย :  Backbone Branding
แปลสรุปความโดย : นางสาวพิชชานันท์ สร้อยสิงห์
รหัสนักศึกษา : 5511303017 กลุ่ม 101
Contact E-mail : pichananss16@gmail.com
วิชา ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์
Gawatt Take-Away -Shop มีงานสร้างแก้วซีรีส์ของที่ระลึกปรับแต่งใบหน้าตามอารมณ์ของคุณหรือให้พวกเขารู้อารมณ์ของคุณ!วันนี้คุณรู้สึกอย่างไร?เศร้าหรือมีความสุข?เหนื่อยหรือเจ้าชู้? แก้วกาแฟช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งใบหน้าและอารมณ์ของคุณในแก้วกาแฟของคุณโดยการหมุนแก้วกาแฟ เป็นวิธีที่สนุกที่จะแสดงอารมณ์ของคุณในขณะที่ทานเครื่องดื่มที่คุณชื่นชอบจาก Gawatt คอฟฟี่ช็อป ทำให้ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับแก้วกาแฟของพวกเขาและนำมาใช้ได้อีกครั้งอย่างสมบูรณ์ แบบที่คุณสามารถใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก

How do you feel today? Sad or Happy? Tired or Flirty? Take Away cup lets you customize your face and mood on your cup by moving the cup sleeve. A fun way to express your emotions, while taking in your favorite beverage from Gawatt Coffee Shop. Designed by Backbone Branding, the cleaver use of printing, makes the consumer interact with their cup and is a perfect re-useable cup that you can use over and over.   
"Ladies And Gentlemen Here Is The Main Identity Of The Gawatt Take-Away Coffee-Shop, We Had A Task Of Creating A Limited Series Of Souvenir Cups. "Customize The Faces By Your Mood Or Let Them Lead Your Emotions!"  We Came Up With An Idea Of Cups With Altering Emotions. Customers Can Change The Face Expression Of Their Cup Personage By Turning The Exterior Sleeve.
download (2).jpg
download (6).jpgแปล - สรุปบทความเรื่องที่ 3
Just laid eggs
เขียนโดย: Kevin Daley
แปลสรุปความโดย :นางสาวพิชชานันท์สร้อยสิงห์
รหัสนักศึกษา:
5511303017 กลุ่ม 101
ติดต่อ E-mail: pichananss16@gmail.com
วิชา ARTD3301


สำหรับวิธีการเลือกใข่ที่ดีและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ประเภทสินค้านี้สามารถตอบสนองได้ดีจากความกังวลกับปัญหาความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นความสดมันเป็นเรื่องยากที่ผู้บริโภคจะให้ความสนใจการแก้ปัญหาคือการเน้นประโยชน์ของท้องถิ่นให้กับผู้บริโภคผ่านชื่อแบรนด์ที่ตอกย้ำความคิดไข่ไก่สดๆตรงจากไก่โดยมีความคิดสร้างสรรค์เป็นการ์ตูนขี้เล่นของไก่ที่มีแตกต่างกันสามโพสท่าเป็นการการแสดงออกของแต่ละสามสายพันธุ์เพียงแค่ใช้กล่องบรรจุภัณฑ์ไข่มาตรฐานในแบบที่แปลกใหม่ช่วยในการโต้ตอบและการออกแบบเพื่อเป็นการเน้นแนวคิดแผงวางใข่สดใหม่ในกล่องช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจกับกระบวนการธรรมชาติของการวางใข่
แนวคิดนี้ได้รับรางวัลทองคำ Pentaward และ HAHAHA ลาร์สพิเศษ รางวัล Wallentin สำหรับแพคเกจที่สนุกที่สุดในทุกประเภทในปีนี้การแข่งขัน Pentawards 2014

Thought As part of our ongoing work with Noble Foods, we were asked to develop concepts that explored hypothetical positionings for how eggs could better satisfy or respond to consumer needs. One of the many thoughts we had was how this commodity category could respond better to concerns related to CSR issues such as food miles and related freshness. We were intrigued by the notion that, while early adopters of CSR issues find it easy to support a cause, it is harder to convert mass-market consumers unless there is something in it for them. Solution Our solution was to emphasise the benefit of locally laid eggs to consumers through a cheeky brand name that reinforces the idea of freshly laid eggs straight from the hen. The creative execution is a selection of playful caricatures of hens laying eggs with three different poses/expressions for each of the three variants. Unique features The Just Laid concept uses standard egg box packaging in a unique way that allows the consumers to interact with the pack and design. To further highlight the freshly laid concept, the fastening on the box becomes a representation of the egg itself, allowing consumers to connect with the natural process of the eggs ‘being laid’! This concept has won a gold Pentaward and also a special HAHAHA Lars Wallentin award for the most fun package across all categories, in this years Pentawards 2014 competition. - See more at: http://www.packagingoftheworld.com/2014/10/just-laid-concept.html#sthash.XcqOov7h.dpuf

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

แนะนำสมาชิกกลุ่ม1

แนะนำสมาชิกกลุ่ม1
วิชาARTD3301ออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packeging Design) กลุ่มเรียน101

1.นายนัทกฤษ นามพุก (ประธาน)
ชื่อเล่น อั้น  อายุ 22 ปี
เกิดวันที่    7 กุมภาพันธ์ 2535
รหัสนักศึกษา 5511303009
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาศิลปกรรม แขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่3

อั้น.jpg
2.นายเกียรติศักดิ์ มานะกิจ (รองประธาน)
ชื่อเล่น ต๋อง  อายุ 21 ปี
เกิดวันที่    23 สิงหาคม 2536
รหัสนักศึกษา 5511310681
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาศิลปกรรม แขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่3

ต๋อง.jpg

3.นางสาวปาณิสรา หนูหีต (เลขา)
ชื่อเล่น ป๊อป  อายุ 20 ปี
เกิดวันที่    19 เมษายน 2537
รหัสนักศึกษา 5511300096
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาศิลปกรรม แขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่3

ป๊อป.jpg
4.นายสิงห์เอก งามพริ้ง (ประชาสัมพันธ์)
ชื่อเล่น นัท อายุ 21 ปี
เกิดวันที่  25 มีนาคม 2536
รหัสนักศึกษา 5511302985
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาศิลปกรรม แขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่3

ลั่น.jpg




5.นางสาวพิชชานันท์ สร้อยสิงห์ (เหรัญญิก)
ชื่อเล่น ปุ้น อายุ 23 ปี
เกิดวันที่    16 กรกฏาคม 2534
รหัสนักศึกษา 5511303017
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาศิลปกรรม แขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์ ชั้นปีที่3

ปุ้น.jpg




ความหมายของบรรจุภัณฑ์กลุ่มที่ 1

กลุ่มที่ 1
ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์
asdasd.jpg

ความหมายของบรรจุภัณฑ์
งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
นาย นัทกฤษ นามพุก

Juice-Packaging.jpg

ที่มาของรูปภาพhttp://wedesignpackaging.com/refreshing-juice-packaging-designs/
ความหมายของบรรจุภัณฑ์
ได้มีผู้ให้ความจำกัดความไว้มากมายดังนี้
1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
สรุป: การออกแบบบรรจุภัณฑ์หมายถึงกระบวนการคิดสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากวัสดุต่างและนำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียงจัดส่งและนำเสนอสินค้าตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต
นางสาว พิชชานันท์ สร้อยสิงห์






574791_593947817299549_1053462964_n.jpg

ที่มา : www.thedieline.com

ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

สินค้าจะสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ผลิตได้ก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าที่อยู่ในสภาพดี กล่าวคือสินค้าไม่เสียหาย ไม่บูดเน่าเสีย และอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของสินค้านั้น ๆ บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่แรกที่สำคัญคือช่วยปกป้องสินค้าให้ปลอดภัยในระหว่างขนส่ง หน้าที่ต่อมาคือให้ข้อมูลของสินค้าเสมือนเป็นพนักงงานขาย ซึ่งจะพบหน้าที่นี้ในซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านขายของชำ แม้แต่สินค้าอุตสาหกรรม ปั้มไฟฟ้า จะจำหน่ายได้ดี ถ้ามีบรรจุภัณฑ์ที่สะดุดตา การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะเป็นระบบการนำเสนอตัวบรรจุภัณฑ์เพื่อไปสู่วัตถุประสงค์หลักทั้ง 2 ด้าน คือ สินค้าปลอดภัยและส่งเสริมการขายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ประกอบด้วยการออกแบบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ การออกแบบโครงสร้าง และการออกแบบกราฟฟิก โดยที่การออกแบบโครงสร้างจะเน้นคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ส่วนการออกแบบกราฟฟิกจะสื่อความหมายด้วยภาพวาดสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการขาย การออกแบบทั้ง 2 ส่วนจะเกื้อหนุนไปในทางเดียวกันเพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้านั้น ๆ น่าเสียดายที่บางครั้งเราจะพบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามสะดุดตาบนชั้นวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่สภาพของบรรจุภัณฑ์เสียหายเนื่องจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นไม่คำนึงถึงการออกแบบโครงสร้าง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของสินค้าด้วยลงไปในทางกลับกันสินค้าและบรรจุภัณฑ์บางชนิดมีสภาพดีแต่ผู้ซื้อไม่สนใจหยิบชม เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ขาดสีสันและขาดข้อมูลที่ผู้ซื้อสนใจ ดังนั้นการออกแบบทั้งทางด้านโครงสร้างและกราฟฟิกจึงมีบทบาทที่สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างคุณค่าของสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านความคุ้มครองและส่งเสริมการขายจะต้องให้ความสำคัญในการรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าหรือตลาดเป้าหมายเป็นลำดับแรก
สรุป: การออกแบบ ”บรรจุภัณฑ์” หมายถึง วัตถุภายนอกที่ทำหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง หรือ ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออำนวยให้เกิดผลประโยชน์ในทางการค้าและการบริโภค
นาย สิงห์เอก  งามพริ้ง  5511302985 ARTD3301 สมาชิกกลุ่มที่ 1
ARTD3301 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่มา:https://static1.squarespace.com/static/52536652e4b007332ef4ecf4/t/54c0a5c4e4b0aa857b26a309/1421911494911/?format=750w


ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษอีกอย่างว่า “Package” ทุกคนคงคิดถึงรูปลักษณะของกล่องใส่ของหรือบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ่มของต่างๆ โดยมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบ ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์ จากแหล่งผู้ผลิต ไปยังแหล่งผู้บริโภค เพื่อเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกัน และรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพเดิม ตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกับเมื่อแรกผลิต นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิต
คำว่าบรรจุภัณฑ์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าต่างๆ ในการจัดส่งจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อและผู้บริโภคโดยใช้ต้นทุนที่เหมาะสมแก่สินค้านั้นๆองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่ผู้ผลิตควรคำนึงถึง เนื่องจากแพ็กเกจเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคจะเห็นเป็นอันดับแรกหากแพ็จเกจสะดุดตาไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะ รูปทรงต่างๆหรือสีสันจะทำให้การตัดสินใจของผู้บริโภคนั้นง่ายยิ่งขึ้น

นางสาว ปาณิสรา หนูหีต รหัสประจำตัว 5511300096 กลุ่มที่ 1

ความหมายการออกแบบบรรจุภัณฑ์
          สินค้าทุกอย่างที่ผลิตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรมหรือสินค้างานฝีมือ เช่น ผลิตภัณฑ์โอทอป ต้องการการปกป้องคุ้มครอง ในระหว่างการเดินทางจากมือผู้ผลิตไปยังมือผู้บริโภค ซึ่ง “บรรจุภัณฑ์” เป็นผู้ทำหน้าที่นั้น คือปกป้องคุ้มครองสินค้า ไม่ให้เกิดความเสียหาย จากบรรยากาศ สภาพการขนส่ง การปนเปื้อน ฯลฯ ในระหว่างการขนส่งจากผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภค นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าแก่ผู้บริโภค โดยผู้บริโภคสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบ ประโยชน์ต่างๆ หรือวิธีใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้จากข้อความที่พิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์
ส่วนประเภทของบรรจุภัณฑ์นั้น สามารถแยกออกได้ด้วยวัสดุที่นำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์นั้นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากกระดาษ, บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติก, บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว, บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโลหะต่างๆ เช่น อลูมิเนียมฟลอยด์ และบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ เช่น เข่ง กล่องไม้ ลังไม้ ซึ่งยังใผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหนักๆ อยู่ แต่ในผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ใช้กันมากมักจะเป็นกระดาษ ฟิล์มพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติกต่างๆ ที่ใช้ใส่อาหาร นม น้ำดื่ม ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป
นาย เกียรติศักดิ์ มานะกิจ


การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง (Product and Package Visual Analysis)



การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)
โดย นางสาวพิชชานันท์ สร้อยสิงห์
27 มกราคม 2558

ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้อ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555
กรอบแนวคิดในการดำเนินงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์
เอกสารไม่มีชื่อ.jpg
ภาพที่ 1. ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส.  เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ ออกแบบทัศนสื่อสาร หรือที่เรียกว่าออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) นั้น ต้องใช้ ในการเริ่มต้นทำงานเสมอ โดยวิธีและการสังเกตุ คุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่ง ใดๆนั้นโดยตรง โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ เครื่องช่วยใดๆมาประกอบ (Observation of the obvious, external features without the aid of an instrument) เป็นการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ ได้มองเห็น ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการ ตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มองเห็น(Visual Inspection) โดย ใช้ดุลพินิจ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้สังเกต(Observed) ได้รับรู้(Percieved) และแปลความ หมาย (Translated and Transfered) ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใด วิธีการใด หรือด้วยสื่อใดนั่นวิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 2.ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของสบู่ถ่านไม่ไผ่
หมายเลข 1 คือข้อความการบ่งชี้ชนิด-ประเภทสินค้า
หมายเลข 2 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข 3 คือข้อมูลแจ้งส่วนประกอบสำคัญของสินค้าใช้งาน
หมายเลข 4 คือข้อมูลบ่งบอกผู้ผลิต
หมายเลข 5 คือ  แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข 6 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข 7 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข 8 คือตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข 9 คือเทคนิคการปิดโครงสร้าง Seal or Encloseure Technic
หมายเลข 10 คือ สัญลักษณ์การรับรองความปลอดภัย-มาตรฐานการผลิต
หมายเลข 11 คือปริมาตร-น้ำหนักสินค้า

การศึกษาสินค้าคู่แข่งสินค้าของผู้ประกอบการ
spd_2012090804759_b.jpg22.jpg

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนการสอนครั้งที่3 วันพุธ ที่21 มกราคม 2558


สรุปการเรียนการสอนครั้งที่3 วันพุธ ที่21 มกราคม 2558

ได้เรียนรู้ถึงหลักการแปล-สรุป-การพูดแบบพื้นฐาน

  • ควรแปลโดยการเรียบเรียงคำให้สละสลวย
  • ควรบอกถึงประโยชน์ต่างๆว่าสิ่งๆนั้นดีอย่างไร
ข้อมูลต่างๆที่เราจะนำมาสรุปสามารถหาเพิ่มเติมได้ ส่วนที่สรุปควรอยู่ด้านบน ส่วนย่อยๆควรอยู่ด้านล่าง
การพูด ควรพูดถึงตัวผลิตภัณฑ์ ลักษณะเด่นและควรเลือกวิธีการนำเสนอให้หน้าสนใจถึงลายละเอียดต่างๆต้องทำให้คนอื่นเชื่อหรือศรัทธา
**ความรู้ใหม่**
รีไซเคิล(Recycle)คือการเปลี่ยนหน้าที่หรือเปลี่ยนแปลงรูปทรง
D I Y(Do it by yourself) คืองานที่ซื้อแล้วนำมาทำหรือประกอบเอง
Bites แปลว่ากัด
Logotype คือตัวหนังสืออย่างเดียว
การออกแบบโลโก้ควร2นัยยะ
สิ่งที่ต้องทำ

  • ออกแบบโลโก้123ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เข้าไปติดตามข่าวได้ที่pnru.ac.thเข้าไปศึกษาที่http://www.logosociety.blogspot.com/ สามารถเอาฟร้อนได้ที่เครื่องอาจารย์หรือเข้าไปเอาที่ font.com chandrakasem.info แนะนำให้ใช้ตัวอักษรไทย ใช้โปรแกรมai (งานชิ้นนี้ถือเป็นงานสอบกลางภาค)
  • หาข้อมุล visual analysis ศึกษาproductประเภทspaและแปลความหมายใส่ใน google docsเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนพร้อมถ่ายภาพทุกมุม 
 
  • ศึกษาการพับกระดาษต่างๆออริกามิ(Origami)พับกระดาษพร้อมสินค้าภายใน

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ความหมายของบรรจุภัณฑ์

ความหมายของบรรจุภัณฑ์


ความหมายของบรรจุภัณฑ์ (packaging)   
 
      การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาดโดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้าหรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภคและจะเห็นได้ว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรมหรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้วฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้วจึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อบรรจุภัณฑ์กับหีบห่อถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน

-packaging หมายถึงงานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมาให้ความคุ้มครองสินค้าห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอยอาทิเช่นความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้เป็นต้น
-packaging หมายถึงกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์โดยทั่วๆไปหีบห่อจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญสองส่วนคือ
1.วัสดุที่ใช้ประกอบขึ้นเป็นหีบห่อ เช่น โลหะ กระดาษ แก้ว พลาสติก เป็นต้น ซึ่งผลิตออกมาในรูปของกระป๋อง ขวด ซองเป็นต้น
2.ป้ายฉลากสินค้า(Label) อันเป็นส่วนแสดงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขายเช่น ตรายี่ห้อ (brand)สูตรส่วนผสมคุณสมบัติ วิธีใช้ ชื่อผู้ผลิต ราคา ปริมาตรสุทธิ เครื่องหมายการค้า วันเดือนปีที่ผลิต คำเตือน เป็นต้น
สรุป บรรจุภัณฑ์ คือสิ่งที่ใช้ห่อหุ้มสินค้า ทำจากวัสดุได้หลายชนิดหลายขนาดหลายรูปทรงมีประโยชน์ใช้สอยและยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้ตัวสินค้าได้อีกด้วย
อ้างอิงจาก หนังสือการบรรจุภัณฑ์
ผู้เขียน ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท,ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา


 การบรรจุ หรือ packagingได้มีการนิยามไว้หลายความหมายขึ้นกับวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการสื่อสารมากที่สุด


การบรรจุ หมายความว่าเทคนิคทางอุตสาหกรรมและตลาดเพื่อบรรจุ คุ้มครองและสร้างเอกลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการจำหน่ายและการกระจายผลิตผลทางการเกษตรผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสินค้าอุปโภค-บริโภค

The Packaging Institute International ได้ให้บทนิยามไว้ว่า การบรรจุ หมายความว่าการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือการบรรจุในซอง ถุง กล่อง ถ้วย ถาด กระป๋อง หลอด ขวด หรืออื่นๆ เพื่อทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งหรือหลายหน้าที่ ต่อไปนี้ คือ บรรจุ คุ้มครองหรือ ถนอมรักษา สื่อสาร และอำนวยประโยชน์ในการใช้งานหรือมีประสิทธิภาพในการใช้งาน


Briston and neill ได้ให้ความหมายของบรรจุภัณฑ์ไว้ 2 ประการคือ 
1.การบรรจุภัณฑ์ คือศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของการตระเตรียมสินค้าเพื่อการขนส่งและการขาย
2.การบรรจุภัณฑ์ คือ วิธีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยสมบูรณ์และมีราคาที่เหมาะสม
Nikaido(Lecture) ให้ความหมายว่าบรรจุภัณฑ์เป็นเทคนิคที่ส่งเสริมการขายกับการประสานประโยชน์ระหว่างวัตถุดิบกับภาชนะบรรจุ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการคุ้มครองในระหว่างการข่นส่งและเก็บรักษาในคลัง
สรุป บรรจุภัณฑ์ คือภาชนะหรือโครงสร้างที่ใช้เพื่อบรรจุห่อหุ้มคุ้มครองถนอมรักษาและอำนวยประโยชน์ในการใช้งาน สามารถดึงดูดให้ผู้คนสนใจในสินค้า
อ้างอิงจาก หนังสือการบรรจุอาหาร
ผู้เขียน ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท,ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา



บรรจุภัณฑ์ คือกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดขบวนการทางการตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบ สร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์(สุดาดวง เรืองรุจิระ)
บรรจุภัณฑ์ คือ สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะที่ใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งบริโภคหรือแหล่งใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ  ตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกัน เมื่อแรกผลิตให้มากที่สุดนอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่า หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตและหีบห่อ อาจสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการตลาด วัตถุประสงค์ทางด้านการเก็บรักษา(ดารณี พานทอง)

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง หน่วยรูปแบบของวัตถุภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง หรือห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในไม่ให้เกิดความเสียหาย  สะดวกในการขนส่ง  และเอื้อประโยชน์ในทางการค้าและต่อการบริโภค(ประชิด ทิณบุตร)

สรุป บรรจุภัณฑ์ หมายถึงการป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพ สวยงามสร้างมูลค่าและทำให้เกิดความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
อ้างอิงจาก หนังสือการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ผู้เขียน ประชิด ทิณบุตร




Food containers are of particular importance when it comes to package design as these must cater to number of rules and regulations. The goods contained are offer perishable so packaging has to offer maximum protection. It is not only the manufacturing but also the filling process that are subject to strict regulations. Furthermore, compulsory food labels must provide the consumer with information about the contents and the composition of the product, in order to protect both the health and interests of the buyer. New packaging materials (intelligent packaging) are capable of ration or spoilage of a product.


ภาชนะบรรจุอาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งมาถึงการออกแบบแพคเกจเหล่านี้จะต้องให้ความสำคัญกับจำนวนของกฎระเบียบและข้อบังคับ สินค้าที่มีอยู่ให้เน่าเสียดังนั้นบรรจุภัณฑ์มีการป้องกันสูงสุดไม่ได้เป็นเพียงการผลิตแต่ยังกระบวนการบรรจุที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดนอกจากนี้ ฉลากอาหารจะต้องมีข้อมูลให้ผู้บริโภคเกี่ยวกับเนื้อหาและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ในการซื้อเพื่อป้องกันทั้งสุขภาพและความสนใจของผู้ซื้อ วัสดุบรรจุภัณฑ์ใหม่ มีความสามารถในการปันส่วนหรือการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์

อ้างอิงจากหนังสือ Packaging Design

ผู้เขียน Chris van Uflelen



Packaging is the enclosure of products, items or packages in a wrapped pouch, bag, box, cup, tray, can, tube, bottle or other container from to perform one or more of the following functions: containment; protection and/or preservation; communications; and utility or performance. If the device or container performs one or more of these functions it is considered a package.

บรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งที่แนบมาของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือแพคเกจในกระเป๋าห่อกระเป๋า กล่อง ถ้วย ถาด หลอด ขวดหรือภาชนะอื่น ๆ ที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าของฟังก์ชั่นต่อไปนี้ บรรจุ การป้องกันและ  การเก็บรักษาการสื่อสาร และอำนวยประโยชน์ในการใช้งานหรือมีประสิทธิภาพในการใช้งานหากอุปกรณ์หรือการบรรจุนั้นทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าจะเรียกว่า ภาชนะบรรจุ
อ้างอิงจากหนังสือ Packaging technology
ผู้เขียน Anne Emblem Henry Emblem